ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองภาพรวมพฤติกรรมผู้บริโภคอาเซียนในแต่ละประเทศที่น่าสนใจมีรายละเอียดดังนี้

พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (ASEAN-5)

 

 สิงคโปร์  • การตัดสินใจซื้อ: ด้วยกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้ชาวสิงคโปร์มักนิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพค่อนข้างสูง

• รสนิยม: วัฒนธรรมไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมากในสังคมสิงคโปร์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคยังอ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง จนได้ชื่อว่าเป็นตลาดแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

• การบริโภค: ชาวสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมาก และนิยมทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ ผู้มีรายได้และมีระดับการศึกษาสูงจะนิยมบริโภคอาหารออร์ แกนิกมากขึ้น

 บรูไน  • การตัดสินใจซื้อสินค้า: ชาวบรูไนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และนิยมสินค้าแบรนด์เนม สินค้าหรูหรามูลค่าสูง และสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามาก

• รสนิยม: ชาวบรูไนมีข้อจำกัดจากทางด้านวัฒนธรรมและมีกฎระเบียบรวมถึงข้อห้ามที่เคร่งครัด ขณะเดียวกันมีรสนิยมที่ค่อนข้างทันสมัยและอิงสไตล์ตะวันตก

• การบริโภค:
– พฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารค่อนข้างใกล้เคียงกับมาเลเซีย โดยนิยมอาหารฮาลาลตามการยึดถือศาสนาอิสลาม
– ชาวบรูไนค่อนข้างเชื่อถือคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหาร จากสิงคโปร์และมาเลเซีย

 มาเลเซีย  • การตัดสินใจซื้อ: ชาวมาเลเซียมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าหรูหรามากขึ้น ขณะที่ กลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างให้ความ สำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สะท้อนจากการใช้จ่ายสินค้าไอทีที่มากเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายด้านอาหารและการพักผ่อนอื่นๆ

• รสนิยม: ผู้บริโภคมาเลเซียมีรสนิยมค่อนข้างหลากหลายตามกลุ่มเชื้อชาติ แต่กลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและรายได้สูงมักมีรสนิยมอิงสไตล์ตะวันตก

• การบริโภค:
– ผู้บริโภคมาเลเซียนิยมบริโภคอาหารสด ขณะที่อาหารแปรรูปและอาหารบรรจุถุงมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นจากความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน
– ชาวมาเลเซียรับประทานอาหารวันละ 3 ครั้ง และระหว่างวันจะมีช่วงพักดื่มน้ำชา และนิยมทานขนมขบเคี้ยว/บิสกิตเป็นอาหารว่างควบคู่ไปด้วย
– ชาวมาเลเซียในวัยแรงงานนิยมบริโภคสินค้า Functional Food เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ/ให้พลังงาน

 อินโดนีเซีย  • การตัดสินใจซื้อ: ชาวอินโดนีเซียยังมีช่องว่างทางรายได้ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพงหรือสินค้าที่มี บรรจุภัณฑ์ราคาสูง

• รสนิยม: ผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปนิยมบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งสินค้านำเข้าจากเอเชียและประเทศตะวันตก

• การบริโภค:
– ชาวอินโดนีเซียมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารค่อนข้างสูง (สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของรายได้ทั้งหมด)
– ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้เวลาพักผ่อนร่วมกับเพื่อนและครอบครัวโดยการออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน
– พฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารเปลี่ยนจากซื้อวันต่อวันมานิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน ที่เก็บไว้ได้นานขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่ม Cereal ยังเป็น อาหารหลักสำหรับทุกกลุ่มรายได้ นอกจากนี้ยังนิยมอาหารรสจัด
– มีแนวโน้มใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

 ฟิลิปปินส์  • การตัดสินใจซื้อ: แม้ปัจจุบันกระแสไอทีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมโลกมากขึ้น แต่ชาวฟิลิปปินส์ไม่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ แต่นิยมเดินเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง (ยกเว้นสินค้า กลุ่มสื่อบันเทิง) นอกจากนี้ ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยยึดติดกับสินค้าแบรนด์เนม แต่นิยมสินค้า Private Label มากกว่า

• รสนิยม: มีรสนิยมค่อนข้างหลากหลาย โดยทั่วไปเน้นความเรียบง่าย สะดวกและเหมาะสมกับระดับรายได้

• การบริโภค:
– ชาวฟิลิปปินส์ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ และการดูแลความสวยงามและผิวพรรณ
– ชาวฟิลิปปินส์ค่อนข้างผูกพันกับตราสินค้าเดิมที่เคยใช้และไม่เปลี่ยนตราสินค้าบ่อย
– ชาวฟิลิปปินส์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นหลัก
– เช่นเดียวกับผู้บริโภคในประเทศอาเซียนอื่นที่มีรายได้สูงขึ้น ชาวฟิลิปปินส์นิยมซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์และอุปกรณ์มือถือ

การเจาะตลาดของ SMEs ไทย

 ผู้บริโภคในกลุ่ม ASEAN-5 มีแนวโน้มรายได้สูง ขึ้นและนิยมสินค้าระดับบนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจผสมผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องทันสมัย เพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากนี้ กระแสการดูแลสุขภาพเป็นแนวโน้มตลาดที่ SMEs ไทยไม่ควรมองข้าม เนื่องจากสินค้าเพื่อสุขภาพอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตสูง แต่เน้นคุณค่าและอนามัยของสินค้า ขณะที่ความนิยมสินค้าอาหารสำเร็จรูปในกลุ่มผู้บริโภค ASEAN-5 ก็นับเป็นโอกาสในการบุกตลาดสำหรับสินค้าอาหารของไทยที่ได้รับการยอมรับ ในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นอาหารพร้อมรับประทาน อาหารฮาลาล ทั้งยังเป็นโอกาสในการขยายตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารด้วย
 ผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรเร่งปรับตัวใน การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ เนื่องจากสังคมไอทีและความทันสมัยเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดกำลังซื้อสูง
 นอกจากนี้ ธุรกิจบริการของ SMEs ไทย โดย เฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพ อาทิ สปา นวดแผนโบราณ ยังมีโอกาสขยายธุรกิจตามกระแสการดูแลสุขภาพในตลาด ASEAN-5 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ที่มีรายได้สูงขึ้น
ที่มา: Euromonitor, KPMG, PricewaterhouseCoopers, USDA.gov และข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (CLMV)

 

เวียดนาม
 พม่า / สปป.ลาว / กัมพูชา
• การตัดสินใจซื้อ: พฤติกรรมชาวเวียดนามแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดจำเป็นต้องชัดเจนและเหมาะสม อาทิ ทางตอนใต้พิจารณามูลค่าสินค้า เป็นสำคัญ ขณะที่ทางตอนกลางให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ส่วนทางเหนือจะค่อนข้างมัธยัสถ์และพิจารณาประโยชน์และความคงทนเป็นสำคัญ

• รสนิยม: ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีรสนิยมการบริโภคเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต้องการสินค้าระดับกลางถึงบนมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวัยแรงงานของเวียดนามค่อนข้างอ่อนไหวต่อ กระแสความนิยมในตลาดโลก

• การบริโภค:
– ชาวเวียดนามในเมืองใหญ่มักนิยมสินค้าแฟชั่น สินค้าไอทีและการสื่อสารที่ทันสมัย
– อาหารสไตล์ตะวันตกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอาหารฟาสฟู้ดที่เข้ามาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์
– ชาวเวียดนามนิยมอาหารสด ผักสดเป็นหลัก ขณะที่ความนิยมอาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าประมาณอาทิตย์ละครั้ง
– พฤติกรรมทางสังคมที่มีการพบปะทางธุรกิจและสังสรรค์มากขึ้น ประกอบกับความสะดวกสบายและไม่เสียเวลาทำอาหารเอง ทำให้นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
– ระดับรายได้ที่สูงขึ้นทำให้ชาวเวียดนามนิยมซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน/เครื่องใช้ในบ้านมากขึ้น โดยยังนิยมสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก

• การตัดสินใจซื้อ: ผู้บริโภคในพม่า/ สปป.ลาว / กัมพูชา ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก ทำให้การตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินค้าเป็นสำคัญ และมักซื้อ สินค้าเท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มวัยรุ่นชาวลาว พบว่า กระแสแฟชั่นสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาสินค้าด้านเครื่องแต่งกายและการ ดูแลสุขภาพ

• รสนิยม: ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 มีรสนิยมค่อนข้างคล้ายคลึงกับไทย จากประเพณีและวัฒนธรรม และพรมแดนที่อยู่ติดกัน ทั้งยังนิยมเลียนแบบการบริโภคสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ ของไทย

• การบริโภค:
– สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมีอิทธิพลค่อนข้างมากในตลาดพม่า สปป.ลาว และกัมพูชา
– สินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดกลุ่มนี้ยังไม่หลากหลายนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากไทย จีน และเวียดนาม
– ผู้บริโภคทั้ง 3 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังได้รับความนิยมในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง / นักการเมือง
– ชาวลาวได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางอาหารจากฝรั่งเศสมาพอสมควร อย่างไรก็ดี อาหารท้องถิ่นของชาวลาวยังคงเป็นที่นิยมโดยทั่วไป

การเจาะตลาดของ SMEs ไทย

 กลุ่ม CLMV เป็นตลาดที่ SMEs ไทยควรให้ ความสำคัญ เนื่องจากทัศนคติและรสนิยมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ค่อนข้างมองสินค้าไทยในเชิงบวก กอปรกับตลาดกลุ่มนี้ยังมีวัฒนธรรมค่อนข้างใกล้เคียงกับไทยทำให้ SMEs ไทยมี โอกาสเข้าถึงตลาดได้ค่อนข้างมาก
 อย่างไรก็ดี ด้วยระดับรายได้ของผู้บริโภคใน ตลาดยังไม่สูงนักและการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ายังมองปัจจัยด้านประโยชน์ใช้สอยและราคาเป็นสำคัญ สินค้า SMEs ไทยจึงควรวางกลยุทธ์เจาะตลาดด้วยสินค้าที่มีราคาไม่สูง นัก
 กลยุทธ์การเจาะตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ ละตลาดควรให้ความสำคัญกับภาษาของแต่ละประเทศ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ในกลุ่ม CLMV ยังใช้ภาษาท้องถิ่นมากกว่าภาษาอังกฤษ
 นอกจากนี้ กลุ่ม CLMV น่าจะมีความต้องการ สินค้า/บริการด้านสุขภาพและความงามตามภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยโอกาสการทำธุรกิจอาจจะเป็นไปในลักษณะของการเข้าไปตั้งโรงพยาบาลสาขา คลีนิกเฉพาะทาง และสำนักงานตัวแทนของโรงพยาบาล เพื่อรับผู้ป่วยเบื้องต้นในประเทศ CLMV รวมถึงบรรดานักท่องเที่ยว ซึ่งหากผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวเนื่องสามารถสร้างพันธมิตรที่ดีได้กับ กลุ่มลงทุนดังกล่าวก็น่าจะเป็นช่องทางที่ไม่ควรมองข้าม
ที่มา: Euromonitor, KPMG, PricewaterhouseCoopers, USDA.gov และข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กล่าวโดยสรุปได้ว่า แม้พฤติกรรมในอาเซียนจะค่อนข้างหลากหลายกันไปในแต่ละประเทศ แต่ผู้ประกอบการ SMEs อาจมองโอกาสการส่งออกและลงทุนในตลาดอาเซียน โดย จำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้มีกำลังซื้อในระดับปานกลางถึงสูง ซึ่งเห็นได้ค่อนข้างชัดในตลาดผู้บริโภคของประเทศอาเซียน-5 และในสังคมผู้มีรายได้สูงของประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งสินค้าของ SMEs ไทยที่มีโอกาสเจาะตลาดกลุ่มนี้ ได้แก่ สินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสาร/โทรศัพท์ มือถือ สินค้ากลุ่มยานยนต์ รวมถึงสินค้ากลุ่มอาหารจำพวกอาหารสำเร็จรูป และอาหารพร้อมปรุง เพื่อตอบสนองสังคมการทำงานนอกบ้านและความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ สินค้าเพื่อสุขภาพทั้งด้านอุปโภคและบริโภคยังเป็นที่ต้องการของตลาดสูง โดยสินค้าที่จะเข้าไปเจาะตลาดกลุ่มนี้ ควรเน้นคุณภาพและมาตรฐานสินค้าในระดับสูง ตลอดจนนำนวัต กรรมและเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆเข้ามาเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น สำหรับกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ในตลาด CLMV ซึ่งแม้ปัจจุบันยังมีรายได้ไม่สูงนักแต่ ด้วยเศรษฐกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระดับรายได้และต้องการบริโภคสินค้าในระดับบนมากขึ้น สินค้าส่งออกของ SMEs ไทยที่มีโอกาสเจาะ ตลาดกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันทั่วไป รวมถึงสินค้าอื่นๆตามกระแสนิยมในยุคไอทีและสินค้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งสินค้าไทยค่อนข้างได้รับการยอม รับในตลาด CLMV พอสมควร เนื่องจากผู้บริโภคใน CLMV ค่อนข้างมีพฤติกรรมบริโภคเลียนแบบสื่อไทย จึงเป็นโอกาสสำหรับสินค้า SMEs ไทยที่ชิงความได้เปรียบในการค้าและการ ลงทุนในตลาดดังกล่าว

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กรกฎาคม 2554

โดย http://ของขวัญของพรีเมี่ยม.com

Share This