โดยธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีโอกาสและความพร้อม ในการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มาประยุกต์เพื่อเพิ่มโอกาสและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด มีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม แต่ที่โดด เด่นเนื่องจากมีปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ รวมถึงมีภูมิปัญหาหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นสนับสนุน ก็ได้แก่

อุตสาหกรรมอาหาร ประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตร ทั้งพืช ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง จนได้ชื่อว่าเป็นครัวของโลก ขณะเดียวกัน ก็มีวัตถุดิบที่ สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรต่างๆ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ สามารถนำมาประยุกต์และผสมผสานเพื่อพัฒนาอาหารไทยให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมูลค่า รวมทั้งเป็นที่ต้องการของตลาด โดยที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรในรูปวัตถุดิบค่อนข้างมาก ดังนั้นหากสามารถแปรรูปสินค้าส่งออกไปจะช่วยเพิ่มมูลค่า สินค้าให้สูงขึ้น

สินค้าแฟชั่น ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตละส่งออกสินค้าประเภทแฟชั่นชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ทั้งสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและเครื่องหนัง แต่การจะ มุ่งเน้นไปที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับตัวจากที่มุ่งเน้นการเป็นผู้รับจ้างผลิต ก็ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปสู่การตลาดที่มุ่งเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เน้นการออกแบบสินค้าทีมีเอกลักษณ์ ตรงตามประโยชน์ใช้สอยของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม และพยายามที่จะสร้างตราสินค้าของตนเองขึ้นมา เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

อุตสาหกรรมหัตถกรรม เครื่องเรือน จักรสาน งานไม้ โลหะ เครื่องปั้นดินเผา ถือเป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีการผลิตอย่างแพร่หลายในชุมชนท้องถิ่นของไทย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีรูปแบบ ลวดลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตามความรู้ความชำนาญที่แต่ละท้องถิ่นมี ซึ่งหากสามารถพัฒนาทางด้านการออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ จะช่วยให้งาน หัตถกรรมไทย สามารถขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ กระแสความนิยมในดนตรี ภาพยนตร์ รวมทั้งการแต่งกายสไตล์เกาหลีหรือที่เรียกว่า K-POP ได้รับความยอมรับทั้งในไทยและในภูมิภาคเอเชีย อันถือเป็น หนึ่งในการนำแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้ โดยการผสมผสานเทคโนโลยี ร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมการใช้ชีวิต การแต่งกาย ที่เกาหลีมีลงไปในสินค้า ซึ่งปัจจุบัน ภาพยนตร์และดนตรีไทย ก็กำลังเริ่มก้าวออกไปได้รับความนิยมในต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากไทยมีทุนทางวัฒนธรรมที่สั่งสมและมีประวัติยาวนาน ประกอบกับผู้ผลิตมีการ พัฒนาบทหรือ เนื้อหาสาระของสื่อที่จะถ่ายทอดได้ตรงกับรสนิยมของตลาดต่างประเทศ

สำหรับประโยชน์ที่คาดว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับ จากการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาพัฒนาสินค้า สามารถสรุปได้ ดังนี้

สร้างศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน ประเทศไทยมิอาจจะพึ่งพาปัจจัยการผลิต ทั้งวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ที่มีราคาถูกได้อีกต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้น เป็นลำดับ ทำให้การแข่งขันทางด้านราคามิอาจจะดำเนินไปได้ในระยะยาว ประการสำคัญกลุ่มลูกค้าเป็นจำนวนมาก เริ่มที่จะมีพฤติกรรมความต้องการบริโภคสินค้า ที่มีความแตกต่างจากที่มีทั่วๆไปในตลาด ฉะนั้นการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยการใส่นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ จะช่วยให้สินค้ามีความโดดเด่น น่าสนใจ ดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าในระยะยาว

สร้างอัตราผลตอบแทน เพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันได้ ผู้ประกอบการทั่วไปจึงต้องตั้งราคาจำหน่ายให้ถูก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อหน่วยต่ำ และหากต้องการกำไรเพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณจำหน่ายสินค้า ซึ่งก็ต้องเพิ่มกำลังการผลิต และตามมาด้วยการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ แต่หากธุรกิจมีการใส่นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ลงในตัวสินค้า จะสามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมได้ เนื่องจากผู้ซื้อยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อคุณค่าที่แฝงอยู่ในตัวสินค้า ทำให้ธุรกิจมีกำไรต่อหน่วย และผลตอบแทนธุรกิจเพิ่มขึ้น

สร้างภาพลักษณ์ ความแตกต่าง เป็นที่จดจำ ที่ผ่านมามีสินค้าไทยเป็นจำนวนมากที่ถูกลอกเลียนแบบสินค้า ทั้งรูปแบบ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า ในตลาดต่างประเทศ โดยผู้ ผลิตสินค้าในต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า แต่หากสินค้าไทยมีการพัฒนานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ใส่เข้าไปในตัวสินค้า จะทำให้การเลียนแบบสินค้าทำได้ยากลำบากขึ้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 ได้นำมาทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย จากการขยายตลาด ไปสู่ประเทศสมาชิกอื่นๆอีก 9 ประเทศ ที่มีประชากรรวมกันถึงกว่า 500 ล้านคน อันเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าไทยหลายเท่าตัว รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้าโดยเฉพาะมาตรการ ทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี สำหรับปัญหาก็คือ การเข้ามาของสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ส่งเข้ามาทำตลาด และสินค้าจากหลายประเทศก็มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการไทย จำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันให้สูงขึ้น โดยหนึ่งในตัวช่วยที่สำคัญก็คือ การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภาย ใต้การนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาปรับใช้กับการผลิตสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐเอง ก็จำเป็นต้องเข้ามาสนับสนุนงบ ประมาณ ทางด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เอสเอ็มอีไทย สามารถนำไปต่อยอดการผลิต และช่วยให้เอสเอ็มอีของ ไทย มีศักยภาพการแข่งขันอย่างยั่งยืน สามารถขยายตลาดส่งออกและนำเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก

 

ที่มา…ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
30 สิงหาคม 2554

http://ของขวัญของพรีเมี่ยม.com

Share This